ความหมายของรูบริค
“ รูบริค ” (Rubric) มาจากภาษาละตินว่า “ RUBRICATERRA ” ซึ่งเป็นคำโบราณที่ใช้ในทางศาสนา หมายถึง การทำเครื่องหมายสีแดงไว้บนสิ่งสำคัญเพื่อใช้นำทาง ส่วนทางการศึกษานั้นรูบริค หมายถึง สมรรถภาพหรือรายการของคุณลักษณะที่บรรยายถึงความสามารถในการแสดงออกของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น เพื่อใช้เป็นแนวทางที่ชัดเจนในการให้คะแนนนักวิชาการสมัยใหม่อธิบายว่า คำว่า “ Rubric ” หมายถึง “ กฎ ” หรือ “ กติกา ”(Rule) ส่วนคำว่า “ Rubric Assessment ” นั้น หมายถึง แนวทางในการให้คะแนน (Scoring Guide)ซึ่งสามารถที่จะแยกแยะระดับต่าง ๆ ของความสำเร็จในการเรียน หรือการปฏิบัติของนักเรียนได้อย่างชัดเจนจากระดับดีมากไปจนถึงระดับต้องปรับปรุงแก้ไขดังนั้น รูบริค จึงเป็นเครื่องมือในการให้คะแนน ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์ด้านต่าง ๆ ที่ใช้พิจารณาชิ้นงานหรือการปฏิบัติงานและระดับคุณภาพของเกณฑ์แต่ละด้านซึ่งมีตั้งแต่ระดับดีเยี่ยมจนถึงระดับต้องปรับปรุงส่วนเกณฑ์การประเมิน (Scoring Rubrics) คือ เกณฑ์การให้คะแนนที่ถูกพัฒนาโดยครูหรือผู้ประเมินที่ใช้วิเคราะห์ผลงานหรือกระบวนการที่ผู้เรียนได้พยายามสร้างขึ้น การประเมินผลงานของนักเรียนจะมี 2 ลักษณะ คือ ผลงานที่ได้จากกระบวนการของนักเรียน และกระบวนการที่นักเรียนใช้เพื่อให้เกิดผลงาน จะประเมินในลักษณะใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ อาจจะประเมินลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือประเมินทั้งสองลักษณะก็ได้ ผู้ประเมินจะต้องตัดสินคุณภาพของผลงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานของนักเรียนแต่ละคนที่มีระดับที่แตกต่างกันหลายระดับ ระดับที่แตกต่างกันอาจจะเป็นระดับคุณภาพของชิ้นงานที่ได้สร้างขึ้น หรือระดับของกระบวนการต่าง ๆ ที่นักเรียนแต่ละคนได้ใช้เพื่อเกิดผลงาน
ทำไมต้องใช้รูบริค
รูบริค มีความเกี่ยวข้องกับครูและนักเรียนด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้
1. รูบริค เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้กับทั้งการสอนและการประเมิน ครูสามารถใช้รูบริคเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงการปฏิบัติงานของนักเรียนได้ และช่วยให้ครูสามารถตั้งความคาดหวังกับการปฏิบัติงานของนักเรียนได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังสามารถแสดงให้นักเรียนเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทำอย่างไรจึงจะปฏิบัติงานได้ตามความคาดหวังที่ตั้งไว้ ผลเช่นนี้ช่วยให้มีการพัฒนาหรือปรับปรุงทั้งคุณภาพชิ้นงานและการเรียนรู้ของนักเรียนควบคู่กันไป ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการใช้รูบริคจะช่วยนิยามคำว่า “ คุณภาพ ” ให้ชัดเจนขึ้น อาจมีนักเรียนบางคนไม่ชอบรูบริค เหตุผลพบคือถ้านักเรียนทำงานผิดพลาด ครูสามารถชี้ให้นักเรียนรู้ได้ว่านักเรียนควรจะทำอย่างไรแทนที่จะทำอย่างเดิม
2. รูบริค เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นผู้ที่สามารถตัดสินคุณภาพชิ้นงานอย่างมีเหตุผล ทั้งงานของตนเองและผู้อื่น นักเรียนจะรู้ข้อผิดพลาดของตนเองและผู้อื่นการทำเช่นนี้บ่อย ๆ ช่วยให้นักเรียนเกิดความรับผิดชอบในงานของตนเองมากยิ่งขึ้น
3. รูบริค เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดจำนวนเวลาที่ครูใช้ในการประเมินผลงานของนักเรียนลงได้เพราะโดยปกติครูมักประเมินงานของนักเรียนทีละชิ้น แต่ถ้าใช้รูบริคในการประเมินงานแล้วนักเรียนจะสามารถประเมินงานของตนเองและของเพื่อน ๆ ได้ นอกจากนี้ รูบริคยังช่วยให้นักเรียนได้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับจุดเด่น และสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในชิ้นงานของตนเองได้อีกด้วย
4. ครูชอบใช้รูบริค เพราะมีลักษณะยืดหยุ่นที่สามารถทำให้ครูสอนนักเรียนที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไปได้อย่างดี
5. รูบริคใช้ได้ง่ายและอธิบายได้ง่ายเช่นกัน การใช้รูบริคจะช่วยให้นักเรียนทราบว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไร และเมื่อมีการประชุมผู้ปกครอง ครูอาจใช้รูบริคอธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจได้ง่ายโดยผู้ปกครองจะทราบได้ว่าบุตรหลานของตนต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะประสบผลสำเร็จในการเรียน
ประโยชน์ของรูบริค
รูบริคมีประโยชน์อย่างมากต่อการประเมิน ทั้งนี้เพราะเหตุผลดังนี้
1. ช่วยให้การคาดหวังของครูที่มีต่อผลงานของนักเรียนบรรลุผลสำเร็จได้ โดยนักเรียนจะเกิดความเข้าใจ และสามารถใช้รูบริคต่อการประเมินและพัฒนาชิ้นงานของตน
2. ช่วยให้ครูเกิดความกระจ่างชัดยิ่งขึ้นว่า ต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือพัฒนาการอะไรบ้าง
3. ช่วยให้นักเรียนสามารถระบุคุณลักษณะจากงานที่เป็นตัวอย่างได้โดยใช้รูบริคตรวจสอบ
4. ช่วยให้นักเรียนสามารถควบคุมตนเองในการปฏิบัติงานเพื่อไปสู่ความสำเร็จได้
5. เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการปฏิบัติงานต่าง ๆของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
6. ช่วยให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง ผู้สนับสนุน ศึกษานิเทศก์ ได้เกิดความ
เข้าใจเกณฑ์ในการตัดสินผลงานนักเรียนที่ครูใช้
7. ช่วยในการให้เหตุผลประกอบการให้ระดับผลการเรียนของนักเรียนได้
8. ช่วยเพิ่มคุณภาพผลงานของนักเรียนจุดประสงค์ของการสร้างรูบริค
การสร้างรูบริคอาจทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ดังนี้
1. เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) เช่น ประเมินการเรียนรู้เป็นทีม กลยุทธการสัมภาษณ์ เป็นต้น
2. เพื่อประเมินผลผลิต (Product) เช่น ประเมินแฟ้มสะสมผลงาน รายงานการวิจัยนิทรรศการ ผลงานศิลปะ เป็นต้น
3. เพื่อประเมินการปฏิบัติ (Performance) เช่น ประเมินการนำเสนอปากเปล่าการอภิปราย การสาธิต เป็นต้น
องค์ประกอบของรูบริค
ในการกำหนดเกณฑ์การประเมิน ต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ
1. เกณฑ์หรือประเด็นที่จะประเมิน (Criteria) เป็นการพิจารณาว่าภาระงานหรือชิ้นงานนั้น ๆ ประกอบด้วยคุณภาพกี่ด้าน อะไรบ้าง
2. ระดับความสามารถหรือระดับคุณภาพ (Performance Level) เป็นการกำหนดจำนวนระดับของเกณฑ์ ส่วนมากจะประกอบด้วย 3 - 6 ระดับ
3. การบรรยายคุณภาพของแต่ละระดับความสามารถ (Quality Description) เป็นการเขียนคำอธิบายความสามารถให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนในแต่ละระดับ ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการ
ตรวจให้คะแนน
ชนิดของรูบริค
รูบริค
มี 2 ชนิด คือ แบบภาพรวม
(Holistic) และ แบบแยกส่วน (Analytic) ดังภาพ
1)
รูบริคแบบภาพรวม ( Holistic Rubric) คือ แนวทางการให้คะแนน
โดยพิจารณาจาก
ภาพรวมของชิ้นงานโดยจะมีคำอธิบายลักษณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน
เกณฑ์การประเมิน
ในภาพรวมนี้เหมาะที่จะใช้ในการประเมินทักษะการเขียนสามารถที่จะตรวจสอบความต่อเนื่อง
ความคิด
สร้างสรรค์ และความสละสลวยของภาษาที่เขียนได้
เกณฑ์การประเมินในภาพรวมส่วนใหญ่จะประกอบด้วย 3 - 6 ระดับ ส่วนเกณฑ์การ
ประเมิน 3 ระดับ จะเป็นที่นิยมใช้กันมาก
เนื่องจากการใช้เกณฑ์ 3 ระดับนั้น จะง่ายต่อการกำหนด
รายละเอียด ซึ่งจะยึดเกณฑ์ค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ย และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
นอกจากง่ายต่อการกำหนดค่าแล้ว
ยังง่ายต่อการตรวจให้คะแนนอีกด้วย เนื่องจากความแตกต่างระหว่างระดับของเกณฑ์ทั้ง 3 ระดับนั้น
จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ถ้าใช้
5 หรือ 6 ระดับ ความแตกต่างระหว่างระดับจะแตกต่างกันเพียง
เล็กน้อย ซึ่งทำให้ยากต่อการตรวจคะแนน ถ้าต้องการใช้เกณฑ์ 5 หรือ 6 ระดับ วิธีการที่จะช่วยในการ
กำหนดเกณฑ์ง่ายขึ้น ครูอาจจะสุ่มตัวอย่างงานของนักเรียนมาตรวจ แล้วแยกเป็น 3 กอง เป็นงานที่มี
คุณภาพดี ปานกลาง และไม่ดี แล้วตรวจสอบลักษณะที่เป็นตัวแยกระหว่างงานที่มีคุณภาพไม่ดี
ลักษณะ
เหล่านี้จะมาเป็นรายละเอียดของแต่ละระดับ
2)
รูบริคแบบแยกส่วน (Analytic Rubric) คือ แนวทางการให้คะแนน
โดยพิจารณาจาก
แต่ละส่วนของงาน ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องกำหนดแนวทางการให้คะแนนโดยมีคำนิยามหรือคำอธิบาย
ลักษณะของงานในส่วนนั้น ๆ ในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน การเขียนรายละเอียดการให้คะแนนมี
เทคนิควิธีดังต่อไปนี้
ก) กำหนดรายละเอียดขั้นต่ำไว้ที่ระดับ 1 แล้วเพิ่มลักษณะที่สำคัญ
ๆ สูงขึ้นมาทีละ
ระดับ ตัวอย่างเช่น งานเขียนมีประเด็นการประเมิน คือ เนื้อหา และ การใช้ภาษา
สมมติว่าแบ่ง
รายละเอียดไว้เป็น 4 ระดับ ก็ควรกำหนดลักษณะย่อยหรือตัวแปรย่อยที่สำคัญให้ได้ 4 ระดับ เช่นกัน
ดังตัวอย่าง
เนื้อหา ระดับ 1 สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
2
ลำดับเนื้อเรื่องชัดเจน
3
เรื่องน่าสนใจ
4
มีจินตนาการ
การใช้ภาษา ระดับ 1 ผิดพลาดมากสื่อความหมายได้
2
ถูกต้องส่วนมากและสื่อความหมายได้
3
ผิดพลาดน้อย เชื่อมโยงภาษาได้ดี
4
ถูกต้องเกือบทั้งหมด สละสลวยงดงาม
จากนั้น เขียนรายละเอียดแต่ละระดับโดยการนำลักษณะย่อยหรือตัวแปรย่อยมาจัด
ลำดับความสำคัญดังได้เขียนตัวเลขกำกับไว้ แล้วนำตัวแปรต่าง ๆ มาเขียนบรรยาย ( Descriptive) ให้
ชัดเจนจากความสำคัญต่ำที่สุด และเพิ่มตัวแปรถัดไปแต่ละระดับ ดังตัวอย่างการเขียนประเด็นเนื้อหา
เนื้อหา ระดับ 1 เนื้อหาที่เขียนสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
2
เนื้อหาที่เขียนสอดคล้องกับเนื้อเรื่องแต่ยังลำดับเรื่องวกวน
3
เนื้อหาที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องลำดับเรื่องได้ชัดเจน
ไม่วกวน
4
สอดแทรกสาระบางอย่างทำให้เรื่องน่าสนใจอ่านแล้ว
ทำให้เกิดจินตนาการ
ข) กำหนดจุดอ่อนระดับต่ำสุดไว้ที่ระดับ 1 แล้วเพิ่มความถูกต้องมากขึ้นทีละระดับ
ดัง
ตัวอย่างการเขียนประเด็นการใช้ภาษา โดยการกำหนดลักษณะย่อยหรือตัวแปรย่อยที่มีลักษณะในระดับ
ต่ำสุดที่ระดับ 1 แล้วเพิ่มความถูกต้องของลักษณะย่อยขึ้นไปทีละระดับ ดังต่อไปนี้
การใช้ภาษา ระดับ 1 ภาษาผิดพลาดมาก แต่ยังสื่อความหมายได้
2
ภาษาถูกต้องส่วนมากและสื่อความหมายได้
3
ผิดพลาดน้อยเชื่อมโยงภาษาได้ดี
4
ภาษาถูกต้องเกือบทั้งหมด มีภาษาที่สละสลวยงดงาม
ในการเขียนรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น แสดงเป็นเชิงคุณภาพ แต่ลักษณะดังกล่าวนี้
อาจเขียนในเชิงปริมาณ ดังนี้
การใช้ภาษา ระดับ 1 ภาษาผิดพลาดไม่เกิน 50 % (หรือ 50 จุด) แต่ยังสื่อ
ความหมายได้
2
ภาษาถูกต้อง 50 % - 70 % และสื่อความหมายได้
3
ภาษาถูกต้อง 70 % - 90 % เชื่อมโยงภาษาได้ดี
4
ภาษาถูกต้อง 90 % - 100 % มีภาษาที่สละสลวยงดงาม
การเขียนรายละเอียดการให้ระดับคะแนนหรือคะแนนในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ก็มีทั้งจุดเด่นและจุดอ่อนของแต่ละแบบ สำหรับเชิงคุณภาพมีจุดเด่น คือ บางตัวแปรหรือลักษณะไม่
สามารถบรรยายได้เป็นปริมาณ เช่น ตัวแปรที่เป็นคุณศัพท์ เช่น สวยงาม ดีงาม
สนุกสนาน สุขสันต์
เป็นต้น จุดอ่อน คือ ในการแปลผลเชิงคุณภาพ เช่น คำว่า มาก น้อย เล็กน้อย
นิดหน่อย ไม่มาก
เหล่านี้ ผู้ประเมินจะเกิดอัตตา แสดงถึงคุณภาพออกมาไม่เท่ากัน สำหรับจุดเด่นของเชิงปริมาณ
เรา
สามารถนับเป็นแห่ง (point) สัดส่วน เศษส่วน ร้อยละได้ แต่ก็ถูกโต้แย้งว่ามีจุดอ่อน คือ แต่ละแห่งมี
น้ำหนักที่ผิดแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ผิดเรื่องของภาษา ผิดการสะกดคำ ผิดโดยทำให้ความหมายเปลี่ยน
กับผิดแล้วยังพอคงความหมายเดิมได้ย่อมมีข้อแตกต่างในน้ำหนัก หรือเช่น ภาษาอังกฤษ
จุดผิดในเรื่อง
ความสอดคล้องของประธานกับกริยา ย่อมมีน้ำหนักมากกว่าสะกดคำผิด เป็นต้น
ในการเขียนราย
ละเอียด จึงควรพิจารณาตามความเหมาะสมพยายามให้เป็นปรนัย (Objective) มากที่สุด
ค) กำหนดตัวแปรย่อยที่มีน้ำหนักเท่ากันทุกตัวแล้วระบุว่าตัวแปรหายไปเท่าไร ระดับ
คะแนนก็ลดหลั่นตามลำดับ เช่น การประเมินการจัดทำรายงาน อาจมีประเด็นของรูปแบบ
เนื้อหา
ภาษา ความสะอาด ประณีต ในกรณีนี้จะยกตัวรูปแบบที่เป็นการเขียนรายละเอียด
การให้คะแนนใน
แบบที่ 3 ดังนี้
กำหนดลักษณะย่อยของรูปแบบของรายงาน ประกอบด้วย ปก คำนำ สารบัญ
อ้างอิง บรรณานุกรม จะเห็นว่า ตัวแปรย่อยของรูปแบบมีอยู่ 5 ตัว วิธีเขียนอาจเขียน ดังนี้
ระดับ 4 มีปก คำนำ สารบัญ อ้างอิง บรรณานุกรม
ครบถ้วน
ระดับ 3 ขาด 1 ลักษณะ
ระดับ 2 ขาด 2 ลักษณะ
ระดับ 1 ขาด 3 ลักษณะ
วิธีการเขียนเกณฑ์การประเมิน
วิธีการเขียนเกณฑ์การประเมิน ครูสามารถเขียนเกณฑ์การประเมินโดยการพิจารณา
ดังนี้
1.
เนื้อหา หน่วยการเรียนนั้น ๆ ตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้ข้อใด
2.
ประเด็นที่นำมาประเมินสามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นคุณภาพของนักเรียนตามมาตรฐานการ
เรียนรู้ในข้อใด
3.
จัดทำกรอบการประเมินที่ครอบคลุมประเด็นที่จะนำมาประเมิน
4.
กำหนดจำนวนระดับของเกณฑ์
5.
พิจารณาเกณฑ์ผ่านและไม่ผ่านพร้อมคำอธิบายและ/หรือตัวอย่างงาน
(คำตอบ)
6.
เขียนคำอธิบายการแสดงออกถึงระดับความสามารถที่สูงกว่าเกณฑ์ หรือต่ำกว่าเกณฑ์
ตามลำดับ
7.
ตรวจสอบความชัดเจนของเกณฑ์การประเมิน โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีส่วนร่วม
เช่น นักเรียน (ถ้านักเรียนเข้าใจ อาจช่วยครูสร้าง
Rubric ได้)
8.
ทดลองใช้เกณฑ์ตรวจผลงาน
9.
หาคุณภาพของเกณฑ์
-
อย่างง่าย
-
ใช้ทฤษฎีการวัดขั้นสูง
10. ปรับปรุงเกณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
ขั้นตอนการสร้างแนวทางการให้คะแนนเพื่อการประเมิน
ครูสามารถเริ่มต้นด้วยวิธีการที่ง่าย ๆ ดังนี้ คือ พิจารณามาตรฐานการเรียนรู้ที่นำมากำหนด
หน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยพิจารณาคำสำคัญ (Keywords) ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
ความสามารถหรือทักษะกระบวนการ และ ความรู้ในเนื้อหา
ตัวอย่างเช่น
คำถามที่ 1
: อะไรคือทักษะ
กระบวนการ หรือความรู้ความสามารถที่เราต้องการให้
เกิดกับนักเรียนในมาตรฐานการเรียนรู้นี้ในเชิงคุณภาพ (วิเคราะห์จากคำสำคัญในมาตรฐาน)
-
สังเกตได้
-
ตั้งคำถามได้
-
อภิปรายได้
-
อธิบายได้
- นำความรู้ไปใช้ได้
คำถามที่ 2
: สังเกตอะไร อะไรที่นำมาให้สังเกต ทำอย่างไร (ดูรายละเอียด ดูการ
ทำงาน ดูความสัมพันธ์เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่อง ดูความสำคัญ) ตั้งคำถามอย่างไร ใครถามใคร ใครเป็นคน
ตอบ ถามกันหลายคนหรือถามคนเดียว ตอบคนเดียว อภิปรายอย่างไร แบ่งกลุ่มเล็ก
ๆ หรือมีกลุ่มเพียง
กลุ่มเดียว มาอภิปรายให้กลุ่มใหญ่ฟัง มีประเด็นอะไรบ้างที่จะนำมาอภิปราย / อธิบายได้คืออะไร ใคร
อธิบาย คนเดียวหรือหลายคนช่วยกันอธิบาย อธิบายเกี่ยวกับอะไร นำความรู้ไปใช้ได้
แสดงว่านักเรียน
ต้องรู้ในสิ่งที่จะนำไปใช้และรู้ว่าจะนำไปใช้ได้อย่างไร (บอกแนวทางข้อกำหนด เงื่อนไขการปฏิบัติ)
คำถามที่ 3
: ผลที่ได้หรือเกิดจากการสังเกตคืออะไร (คำพูด
คำอธิบาย รูปภาพ .......)
ผลที่ได้หรือเกิดจากการตั้งคำถามคืออะไร ผลที่ได้หรือเกิดจากการอภิปราย
อธิบายและนำความรู้ไปใช้
คืออะไร (คำตอบของสิ่งเหล่านี้ คือ ผลงาน
/ ชิ้นงานหรือภาระงานที่ให้นักเรียนปฏิบัติ)
คำถามที่ 4
: ลักษณะสำคัญอะไรที่เป็นรายละเอียดของการปฏิบัติที่เสร็จสมบูรณ์ หรือ
ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ (ลักษณ์สำคัญที่ให้รายละเอียดเหล่านี้
คือ เกณฑ์ (Criteria) ที่จะใช้ประเมิน)
-
ภาษาที่ใช้
-
การนำเสนอความคิดเรียบเรียงเป็นระบบ
-
บทสรุปเชื่อมโยง / ความสัมพันธ์
-
ความถูกต้องในเนื้อหา
-
ภาพประกอบการอธิบาย
-
รายละเอียดในการนำเสนอ
ฯลฯ
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
หลังจากที่ครูตรวจให้คะแนนแล้ว (ถือว่าเป็นการวัด) ครูควรกำหนดการตัดสินขั้นสุดท้ายใน
รูปของระดับคุณภาพ (ถือว่าเป็นการประเมิน) เช่น ดี พอใช้ หรือ ควรปรับปรุง
โดยสามารถกำหนด
การตัดสินขั้นสุดท้ายของคุณภาพได้ตามสูตรดังนี้
จำนวนระดับคุณภาพ
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ = คะแนนสูงสุด-คะแนนต่ำสุด
จำนวนระดับคุณภาพ
บทสรุป
การสร้างรูบริค นับว่าเป็นงานที่ยาก แต่การใช้รูบริคเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย
เมื่อครูสร้างรูบริค
ขึ้นแล้ว ควรมอบรูบริคไว้ให้นักเรียนเพื่อใช้ประเมินงานของตนเอง ผลการประเมินที่นักเรียนประเมิน
ตนเองไม่ควรนำมาใช้เป็นคะแนนเพื่อตัดเกรด แต่คะแนนหรือผลการประเมินนั้น
จะนำมาใช้เพื่อช่วย
นักเรียนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นและพัฒนาชิ้นงานของตนเองในครั้งสุดท้ายให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
ดังนั้น การให้นักเรียนประเมินผลงานของตนเอง แล้วนำผลมาตัดเกรดจึงเป็นสิ่งไม่จำเป็น
นอกจากนี้
การไม่นำผลการประเมินงานของตนเองมาตัดเกรด ยังช่วยให้นักเรียนเกิดความซื่อสัตย์ต่อการประเมิน
งานของตนเองได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ครูควรให้โอกาสนักเรียนในการปรับปรุงชิ้นงานอยู่เสมอ และควรให้เพื่อน
ช่วยกันประเมินชิ้นงานซึ่งกันและกัน โดยใช้รูบริคเดียวกันกับที่นักเรียนแต่ละคนใช้ในงานชิ้นหนึ่ง
ๆ
เป้าหมายของการให้เพื่อนช่วยประเมินชิ้นงานก็เพื่อช่วยให้ทุกคนทำงานได้ดีขึ้นและหลังจากที่เพื่อนช่วย
ประเมินแล้ว ควรให้นักเรียนได้มีโอกาสปรับปรุงชิ้นงานด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ผู้ปกครองอาจใช้รูบริคเพื่อช่วยนักเรียนในการทำการบ้านได้อีกด้วย
และใน
ตอนสุดท้าย ครูจะใช้รูบริคเดิมที่นักเรียนหรือเพื่อนใช้ในการประเมินชิ้นงานมาทำการประเมินชิ้นงาน
ของนักเรียน แล้วคืนผลการประเมินให้นักเรียน นักเรียนจะทราบได้ว่ามีสิ่งใดบ้างที่ตนทำได้ดีและสิ่ง
ใดบ้างที่นักเรียนควรทำเพิ่มเติมในอนาคต
ถ้าจำเป็นต้องมีการให้เกรด ครูก็สามารถใช้รูบริคช่วยได้โดยงานชิ้นใดเมื่อประเมินตาม
เกณฑ์แล้วพบว่าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งมีคุณภาพยอดเยี่ยม งานชิ้นนั้นควรได้ A และงานชิ้นใดเมื่อประเมิน
ตามเกณฑ์แต่ละเกณฑ์ แล้วพบว่ามีคุณภาพต่ำสุดในทุกเกณฑ์ งานชิ้นนั้นควรให้เกรด D หรือ F และ
งานชิ้นใดเมื่อประเมินตามเกณฑ์แต่ละเกณฑ์ แล้วพบว่ามีคุณภาพแตกต่างจากสองกรณีแรก
ครูสามารถ
นำเกรดที่ได้ในแต่ละเกณฑ์มาหาค่าเฉลี่ยได้ เพื่อตัดเกรดชิ้นงานนั้น ๆ นักเรียนสามารถนำรูบริคไปรวม
ไว้ในแฟ้มสะสมผลงานได้ อย่างไรก็ตามพึงระลึกเสมอว่า การที่เราใช้รูบริคนั้นก็เพื่อช่วยสนับสนุนหรือ
ประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นสำคัญ ทั้งครูและนักเรียนต้องสร้างความเชื่อมั่นในรูบริคที่พัฒนาขึ้น
มาด้วย และการให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ครู ผู้ปกครอง หรือผู้รู้ทั้งหลายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างและ
พัฒนารูบริคย่อมเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุนให้มีการดำเนินการ ซึ่งนับเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่
รูบริคยิ่งขึ้น
ที่มา
http://www.kpsw.ac.th/content/data/00002-1-1.html